พวกแรก ก็คือแท็กซี่ ใครที่ขับรถนี่เจอความน่ารำคาญปนน่าโมโหแทบทุกคนก็ว่าได้ เวลามีผู้โดยสารมันก็ไม่รู้จะขับเร็วไปไหน ปาดหน้าไปทั่ว ก็เข้าใจว่าจะได้ทำยอดเยอะๆ ถ้าชนหนนึงคุ้มมั้ยครับ? แต่พอไม่มีผู้โดยสารมันก็ไม่รู้จะขับรถช้าไปไหนอีกเหมือนกัน ถนนใหญ่ไม่เท่าไหร่ แต่อยู่ในซอยนี่ลำบากใจจริงๆ จะแซงก็ไม่ได้ พอนึกอยากจะจอดแช่ที่ป้ายรถประจำทาง ก็จอดเอาดื้อๆ
จริงๆพอนึกถึงแท็กซี่แล้วขอนอกเรื่องหน่อยแล้วกัน รถเปล่าที่วิ่งเยอะฉิบหาย เปลืองน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติมาก ค่าโดยสารก็แพงเกินกว่าคุณภาพของรถ และการบริการ เป็นสิ่งที่สมควรแก้ไขมาก-มากที่สุด แต่กลับไม่มีการดำเนินการอะไรเลยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงคมนาคม)
พวกที่สองคือรถตู้ประจำทาง พวกนี้พอขับบนถนนนี่ไม่เท่าไหร่ครับ เพราะคันใหญ่กว่าแท็กซี่จะเร่งที แซงทีก็ลำบาก แต่ปัญหาคือตอนจอดรับส่งครับ เพราะมันเล่นจอดแช่เลยเหมือนกัน คนก็ไม่ได้ขึ้น (มึงจะจอดทำไมวะ!) กระจกมองหลังไม่เคยดูว่ารถมันติดขนาดไหน รถเมล์ที่ควรจะต้องจอดตรงป้ายก็จอดไม่ได้ เพราะพวกนี้ดันคุมที่อยู่ อย่างกับยากุซ่า (ฮา) ต้องไปจอดเลยป้าย หรือเลนสอง ซึ่งมันก็ทำให้รถติดหนักเข้าไปใหญ่
คิดเรื่องนี้มาก็นานแล้ว ผมก็คิดวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้ได้หลายวิธีครับ
1. ต้องควบคุมกฎหมายให้มีบทลงโทษที่รุนแรงกว่านี้ แน่นอนว่าต้องลงโทษตำรวจที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วย เพราะถึงอย่างไร เท่าที่ผมสังเกตคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยก็ทำตามกฏเพราะว่าความกลัวในบทลงโทษ (จะมีซักกี่คนที่รู้ถึงความหมายของการมีบทลงโทษในบทกฏหมาย)
2. ต้องจัดระเบียบการดำเนินงานของรถแท็กซี่ โดยการลดปริมาณ และเพิ่มคุณภาพ ไม่ใช่ว่าขับรถเป็น คุณก็ทำอาชีพขับแท็กซี่ได้ ผมยอมจ่ายแพงกว่านี้ถ้าคนขับ และรถมีคุณภาพ
3. เรื่องนี้ผมคิดว่าสำคัญที่สุดครับ คือต้องพัฒนาระบบการศึกษา จริงๆ ทุกอย่างที่เป็นปัญหาของไทยก็มาจากเรื่องนี้ทั้งนั้น (หรือใครจะเถียง) ทุกคนรู้ดี หลายคนพยายามปรับปรุงด้วยตัวเอง ทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ แล้วคนที่มีหน้าทีตรงนี้ล่ะครับ ทำอะไรอยู่?